ปัจจุบันโรคติดเชื้อเป็นปัญหาการเจ็บป่วยของคนมากมายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งการติดเชื้อนำไปสู่การป่วยเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย โดยโรคที่เรามักพบได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น โรคท้องร่วง การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคไข้หวัด การเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคสามารถเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง นอกจากนี้โรคติดเชื้อยังอาจนำไปสู่การดื้อยาของเชื้อ ซึ่งทำให้การเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น

โรคติดเชื้อคืออะไร?

โรคติดเชื้อ (infectious disease) คือโรคที่เกิดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเกิดจากพิษของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดต่อจากคนสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือมีการสัมผัสหรือรับเชื้อโรคโดยตรงที่อาจปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือพื้นผิวต่าง ๆ

โรคติดเชื้อเกิดจากอะไร?

เกิดจากการติดเชื้อโรค ซึ่งโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคท้องร่วงจากเชื้อในกลุ่ม Enterobacteriaceae โรคบาดทะยัก โรคฉี่หนู ไข้ไทฟอยด์ โรคซิฟิลิส 
  • โรคติดเชื้อไวรัส เช่น ท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรค RSV ไข้เลือดออก ไวรัสตับอักเสบ โรคเอดส์
  • โรคติดเชื้อรา เช่น โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หิด กลาก เกลื้อน
  • โรคติดเชื้อปรสิต เช่น โรคมาลาเรีย โรคบิดมีตัว พยาธิในลำไส้

โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและการติดต่อ

โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย

โรคติดเชื้อแบคทีเรีย

  • เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteriaceae โดยเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มนี้มักทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง โดยมีแบคทีเรียหลาย ๆ ตัวที่เป็นแบคทีเรียก่อโรค เช่น 
    • แบคทีเรีย Salmonella spp. ทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบ เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนหรือสัตว์และสามารถปนออกมากับอุจจาระ ซึ่งการติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียนี้เข้าไป เช่น ไข่ดิบ ผักดิบ ผลไม้ดิบ 
    • แบคทีเรีย Escherichia coli หรือ E. coli ตามปกติสามารถพบเชื้อ E. coli ได้ในสำไส้ และจัดเป็นเชื้อประจำถิ่น (normal flora) แต่บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง (diarrhea) ได้ การติดต่อมักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารและน้ำดื่ม
    • แบคทีเรีย Vibrio sp. สาเหตุของโรคระบบทางเดินอาหาร และสามารถทำให้เกิดการติด เชื้อในกระแสเลือดได้ เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำทะเลและน้ำกร่อย การติดต่อมักมาจากการรับประทานอาหารทะเลดิบ หรือมีการสัมผัสเชื้อผ่านรอยแผลที่ผิวหนัง
    • แบคทีเรีย Campylobacter spp. โดยทั่วไป การติดเชื้อ Campylobacter มักจะไม่แพร่จากคนสู่คน แต่จะติดต่อผ่านการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อ มูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค หรือของใช้ที่ปนเปือนเชื้อ ทำให้เกิดโรคติดเชื้อตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และโรคอุจจาระร่วง (diarrhea) ได้

ซึ่งแบคทีเรียในกลุ่มนี้สามารถเกิดการดื้อยาได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อในโรงพยาบาล และทำให้อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง และการรักษายุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

  • โรคบาดทะยัก (tetanus) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium tetani เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล หรือการถูกโลหะ หรือของมีคมบาด โดยเชื้อบาดทะยักจะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ หากอาการรุนแรง อาจเสียชีวิตได้
  • โรคฉี่หนู (leptospirosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์หลายชนิดเป็นพาหะของเชื้อ เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน
  • โรคซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum

โรคติดเชื้อไวรัส​​​​​​​

  • ไวรัสโรต้า (rotavirus) เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคท้องร่วง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โดยเชื้ออาจติดมากับมือ ของเล่นที่เปื้อนเชื้อไวรัสโรต้า หรืออาจปนเปื้อนบนพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ มักพบการระบาดในช่วงฤดูหนาว โดยสามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่หากเป็นแล้วสามารถติดเชื้อและเป็นซ้ำได้อีก และแพร่กระจายเชื้อได้เร็ว จึงทำให้เป็นไวรัสที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว
  • ไวรัส RSV (respiratory syncytial virus) เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว การติดเชื้อพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักพบการป่วยในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี เชื้อ RSV ติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะที่มีเชื้อ RSV เช่น น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ติดเชื้อ หรือการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งที่มีเชื้ออยู่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของเล่น เชื้อ RSV เป็นเชื้อที่ทนต่อสภาพแวดล้อม สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมงและสามารถอยู่ที่มือของเราได้นานราว 30 นาที จึงทำให้การแพร่กระจายและการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย
  • ไข้หวัดใหญ่ (influenza; flu) เกิดจากการติดเชื้อ influenza virus ที่ระบบทางเดินหายใจ พบว่ามีการระบาดทุกปี สามารถติดต่อผ่านการหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเชื้อจะปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วย ไอ จาม หรือพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ที่มีคนหนาแน่นและพลุกพล่าน นอกจากนี้การแพร่เชื้อยังอาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยจากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก
  • โรคมือเท้าปาก (hand foot and mouth disease) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม human enteroviruses พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการเป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว มีไข้ ตัวร้อน สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อ และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น พื้นผิวสิ่งแวดล้อม  น้ำ และอาหารที่มีเชื้อโรค มักพบการระบาดในโรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก
  • โควิด-19 (Covid-19) โรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ และทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก ติดต่อได้ทางการหายใจ และการสัมผัสเชื้อ
  • ไข้เลือดออก (dengue fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะ มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนในประเทศเขตร้อน
  • ไวรัสตับอักเสบ (hepatitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (hepatitis virus) ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ เกิดเป็นโรคตับ หรือมะเร็งตับได้ สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น ผ่านการสัมผัสเชื้อทั้งโดยตรงและทางอ้อม ทางเพศสัมพันธ์ และจากแม่สู่ลูก
  • โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัส HIV (human immunodeficiency virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้เกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ ตามมาได้ง่าย สามารถติดต่อได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากแม่สู่ลูก

​​​​​​​โรคติดเชื้อรา

โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราที่พบได้บ่อย เช่น โรคเชื้อราที่ผิวหนัง หิด กลาก เกลื้อน ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัส

โรคติดเชื้อปรสิต

โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิตที่พบบ่อย เช่น

  • โรคพยาธิ ในลำส้ เกิดจาการรับประทานอาหารไม่สุก ที่มีไข่พญาธิ
  • โรคมาลาเลีย เกิดจากการติดเชื้อ protozoa ในกลุ่ม Plasmodium spp. โดยมีพาหะเป็นยุงยุงก้นปล่อง

อาการของโรคติดเชื้อ​​​​​​​

อาการของโรคติดเชื้อจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและชนิดของเชื้อก่อโรคที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น 

  • การติดเชื้อไวรัสจะส่งผลต่อระบบของร่างกายที่ไวรัสเข้าไปจู่โจม บางชนิดมีผลต่อระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
  • การติดเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการ เช่น ไข้ ปวด บวม ร้อน ต่อมน้ำเหลืองโต ท้องเสีย ไอ เจ็บคอ 
  • การติดเชื้อรา มักแสดงอาการที่ผิวหนัง

นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ได้นาน และอาจเกิดการดื้อยาได้ ทำให้เมื่อมีการติดเชื้อจะทำให้อาการรุนแรง การรักษาก็ยาก และซับซ้อนขึ้น

การป้องกันโรคติดเชื้อ

ป้องกันโรคติดเชื้อด้วย อ็อกซิเวียร์ (Oxivir)

สามารถป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อโดยมีหลักการสำคัญ คือ

  • การป้องกันการแพร่กระจายโรค ที่แหล่งก่อโรค
    • การฆ่าเชื้อในแหล่งก่อเชื้อ เช่น แหล่งขยะ แหล่งน้ำเสีย
    • แยกสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ที่มีการติดเชื้อ 
    • ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม และพื้นผิวที่ปนเปื้อน หรือสงสัยว่าปนเปื้อนเชื้อโรคด้วยสารทำความสะอาด โดยเลือกสารทำความสะอาดให้เหมาะสมกับเชื้อโรค เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิดเป็นเชื้อโรคที่ฆ่าได้ยาก มีความทนทานสูง จึงอาจต้องการสารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสูงตามไปด้วย 
    • การจัดการสุขอนามัยพื้นฐานอย่างเหมาะสม เช่น การจัดการห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ
    • การควบคุม และกักกันบริเวณก่อโรค เพื่อลดการแพร่ระบาด
       
  • การป้องกันที่ตัวบุคคล
    • การรับวัคซีนป้องกันโรค
    • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ล้างมือบ่อย ๆ อย่างถูกต้อง ทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าอย่างถูกสุขลักษณะ
    • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ มีประโยชน์ สะอาด 
    • ใช้อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค เช่น หน้ากาก รวมถึงการป้องกันโรคขณะมีเพศสัมพันธ์
      ​​​​​​​
  • การป้องกันที่ทางผ่านของโรค
    • การฆ่าเชื้อในอากาศ
    • การใช้เครื่องฟอกอากาศ
    • การใช้น้ำที่สะอาด ไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน