การป้องกันการระบาดของโรค
โรคหัด

Thumbnail Thumbnail

โรคหัด (หรือบางครั้งเรียกว่า โรครูบิโอลา) มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหัดในน้ำมูกและเสมหะ โดยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว ไวรัสหัดจัดอยู่ในวงศ์พารามิกโซไวรัส (Paramyxovirus) ถึงแม้ไวรัสชนิดนี้จะถูกค้นพบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ศตวรรษที่เก้า แต่ในปี 1957 ฟรานซิส โฮมถือเป็นคนแรกที่พบว่า โรคหัดมีสาเหตุมาจากเชื้อก่อโรค

 

เชื้อหัดมีการแพร่กระจายหลักผ่านทางการไอและจาม ซึ่งก่อให้เกิดละอองฝอยที่สามารถลอยในอากาศได้นานถึงสองชั่วโมงและติดอยู่บนพื้นผิวได้นานถึงสองชั่วโมงเช่นเดียวกัน โดยโรคจะติดต่อไปยังผู้ที่หายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไปและไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด โรคหัดถือเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายที่สุดโรคหนึ่ง ดังนั้น การรับสัมผัสเชื้อไวรัสแม้เพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจทำให้ติดโรคได้ โรคหัดสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วมาก โดยหากมีคนหนึ่งเป็นโรคนี้ จะสามารถทำให้คนรอบตัวประมาณ 90% ติดโรคนี้ไปด้วยเช่นกันหากไม่มีภูมิคุ้มกัน

 

เชื้อไวรัสหัดยังสามารถแพร่กระจายได้หากมือหรือพื้นผิวไปสัมผัสโดนสารคัดหลั่ง แล้วไปสัมผัสดวงตา จมูก หรือปากในภายหลัง โดยเมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปเกาะอยู่ที่เยื่อบุจมูกหรือคอ ถึงแม้จะมีวัคซีนป้องกันโรคหัดแล้วในปัจจุบัน แต่โรคหัดยังคงเกิดขึ้นทั่วโลก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โรคหัดถือเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น โดยยังไม่เคยถูกพบในสัตว์หรือแมลง